การทำงานในตำแหน่งหัวหน้าอัยการสูงสุด ของ อีเลียต สปิตเซอร์

ในฐานะหัวหน้าอัยการสูงสุด สปิตเซอร์ได้ยกระดับมาตรฐานของหน่วยงาน โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว อัยการรัฐมักจะทำคดีเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค และเน้นด้านคดีฉ้อโกงระดับท้องถิ่น ขณะที่คดีระดับชาติจะถูกโอนให้รัฐบาลกลาง สปิตเซอร์ดำเนินการฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญาในคดีซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของพนักงานหรือผู้บริหารภายในองค์กร, การฉ้อโกงหลักทรัพย์, การฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต, และการปกป้องสิ่งแวดล้อม

นักเศรษฐศาสตร์ ทนายความ และนักวิเคราะห์การเมืองหลายคนวิพากษ์วิจารณ์บทบาทอันแข็งขันของสปิตเซอร์ในการอภิปรายนโยบายสาธารณะ สำนักงานอัยการสูงสุดประจำรัฐนิวยอร์กมีอำนาจควบคุมวอลล์ สตรีท (Wall Street) ซึ่งรวมถึงองค์กรและสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่ง นอกจากนั้น ยังมีอำนาจสอบสวนและฟ้องร้ององค์กรและบริษัทมากกว่าปกติภายใต้กฎหมายธุรกิจทั่วไปแห่งรัฐนิวยอร์ก (New York State's General Business Law) โดยเฉพาะ ภายใต้มาตรา 23-เอ วรรคที่ 352 (หรือที่เป็นรู้จักกันทั่วไปว่า บัญญัติมาร์ตินแห่ง ค.ศ. 1921-Martin Act of 1921) หัวหน้าอัยการสูงมีอำนาจออกหมายเรียกพยานและเอกสารของบริษัทอันเกี่ยวข้องกับการสืบสวนการฉ้อโกงหรือกิจกรรมอันไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรหรือบริษัท

สปิตเซอร์ใช้อำนาจตามข้อนี้ในการดำเนินคดีในทางแพ่งต่อตัวบริษัท และในการฟ้องร้องทางอาญาต่อเจ้าพนักงานของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่ามีประโยชน์อย่างมากอันสืบเนื่องจากคดีความองค์กรของสหรัฐฯหลายคดี อันมีจุดเริ่มต้นจากการล่มสลายของเอ็นรอน (Enron) ในปีพ.ศ. 2544 หลายๆองค์กรเหล่านี้ รวมถึงบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ซึ่งช่วยขายหลักทรัพย์ให้บริษัทเหล่านี้ ถูกกล่าวหาว่าทำการปั่นราคาหุ้นด้วยวิธีการอันผิดจริยธรรมมาตลอดทศวรรษ 1990 เมื่อการสืบสวนข้อกล่าวหาซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (U.S. Securities and Exchange Commission : SEC) และสภาคองเกรส ไม่ได้รับความร่วมมือ หน่วยงานของสปิตเซอร์จึงใช้อำนาจออกหมายเรียกพยานหลักฐานเพื่อตรวจสอบเอกสารองค์กร

บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล